วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

 3.1 การกำหนดปัญหา

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหา ข้อเท็จจริงที่แท้จริง ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน

ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ    โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานในระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ  ดังนั้น   นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนา   แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ดีที่สุดอาจไม่ถูกเลือกเพื่อมาใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง   ดังนั้น  แนวทางที่ดีที่สุดในที่นี้คงไม่ใช่ระบบที่ต้องใช้งบประมาณแพงลิบลิ่ว แต่เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขในสถานการณ์นั้นๆ เป็นหลักสำคัญ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณค่าใช้จ่าย  และเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้ หากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้

กระบวนการแก้ปัญหา - การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา

1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหา รวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม

3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ

4. จัดเตรียมทีมงาน และกำหนดเวลาในการทำโครงการ

5. ลงมือดำเนินการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  3.5 การสรุปผลและเผยแพร่             เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้อื่นไ ด้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานของผู้จัดทำซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การแสด...