วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

 3.2 การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา

การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้

การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้น ตามปกติจะกำหนดในเรื่องของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

การเขียนขอบเขตของการวิจัย ผู้วิจัยอาจจะเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ แยกหัวข้อกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรก็ได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก (วัดผลจุดคอม. 2553 : , คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

ตัวอย่าง การเขียนขอบเขตของการวิจัย แบบเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ เช่น

ตัวอย่างที่ 1 งานวิจัยเรื่อง “ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร”  กำหนดขอบเขตการวิจัยดังนี้

การวิจัยในครั้งนี้กลุ่มของประชากร คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 5,645,834 คน โดยจะทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 625 ตัวอย่าง ซึ่งลักษณะของกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคเพศชายหรือหญิง อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป โดยต้องเป็นผู้ที่กำลังซื้อสินค้าหรืออยู่ในบริเวณของร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ต ระยะเวลาทำการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มิถุนายน 2543 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 151 วัน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  3.5 การสรุปผลและเผยแพร่             เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้อื่นไ ด้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานของผู้จัดทำซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การแสด...