วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

 3.5การสรุปผลและเผยแพร่

            เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานของผู้จัดทำซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการจัดนิทรรศการโดยใช้โปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงหรือโปร่งแสงร่วมกับเอกสารหรือแผ่นใส การใช้คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ไมโครซอฟต์เพาเว่อพอยต์ นำเสนอร่วมกับโพรเจกเตอร์และจอรับภาพ การสร้างเว็บเพจโดยผลงานที่นำเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบไปด้วยรายละเอียดและวิธีการ ดังนี้

3.4 การดำเนินงาน

        1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

        2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้

         3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ ดังนี้
    3.1  ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิงและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ
    3.2  วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงการที่จะพัฒนา
    3.3  ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษา โปรแกรม และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้
    3.4  กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ
    3.5  ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
    3.6  เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด

4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เช่น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย
           5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้ การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา และส่วนสุดท้ายเป็นคู่มือการใช้งานโครงงาน 
            6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน โดยทั่วไปเมื่อโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการนำเสนอโครงงานให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานหรือครูที่ปรึกษาโครงงาน ดังนั้นควรเตรียมเอกสารนำเสนอให้สมบูรณ์ โดยอาจปรับย่อข้อความที่สำคัญมาจากการรายงานก็ได้ การนำเสนอในรูปแบบใดนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ป้ายนิทรรศการ เอกสารรายงาน แผ่นพับ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในการนำเสนอและสาธิตโครงงาน และควรฝึกตอบคำถามที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย

 3.3 การวางแผนและออกแบบโครงงาน

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

          โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงงานนั้นๆ การคัดเลือกโครงงานที่สนใจจะทำ ควรเป็นไปตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตัวผู้เรียนเอง การสำรวจและการเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน เป็นขั้นตอนแรกของการทำโครงงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ดังนี้
1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน (การตั้งชื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ที่สนใจจะทำ)
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
4. การลงมือพัฒนาโครงงาน
5. การจัดทำรายงาน
6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน


 3.2 การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา

การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้

การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้น ตามปกติจะกำหนดในเรื่องของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

การเขียนขอบเขตของการวิจัย ผู้วิจัยอาจจะเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ แยกหัวข้อกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรก็ได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก (วัดผลจุดคอม. 2553 : , คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

ตัวอย่าง การเขียนขอบเขตของการวิจัย แบบเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ เช่น

ตัวอย่างที่ 1 งานวิจัยเรื่อง “ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร”  กำหนดขอบเขตการวิจัยดังนี้

การวิจัยในครั้งนี้กลุ่มของประชากร คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 5,645,834 คน โดยจะทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 625 ตัวอย่าง ซึ่งลักษณะของกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคเพศชายหรือหญิง อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป โดยต้องเป็นผู้ที่กำลังซื้อสินค้าหรืออยู่ในบริเวณของร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ต ระยะเวลาทำการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มิถุนายน 2543 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 151 วัน

 

 3.1 การกำหนดปัญหา

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหา ข้อเท็จจริงที่แท้จริง ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน

ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ    โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานในระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ  ดังนั้น   นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนา   แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ดีที่สุดอาจไม่ถูกเลือกเพื่อมาใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง   ดังนั้น  แนวทางที่ดีที่สุดในที่นี้คงไม่ใช่ระบบที่ต้องใช้งบประมาณแพงลิบลิ่ว แต่เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขในสถานการณ์นั้นๆ เป็นหลักสำคัญ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณค่าใช้จ่าย  และเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้ หากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้

กระบวนการแก้ปัญหา - การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา

1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหา รวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม

3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ

4. จัดเตรียมทีมงาน และกำหนดเวลาในการทำโครงการ

5. ลงมือดำเนินการ

 2.5 การจัดเรียงและการค้นหาข้อมูล

Data structure: การจัดเรียงข้อมูล Sorting

การจัดข้อมูลที่ได้กล่าวมาเเล้วว่า  คืองานที่กระทำกับข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีกิจกรรมคือการเก็บรวงรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การทำรายงานการนำไปใชตลอดการจัดเก็บ  ใบบทที่กล่าวมาถึง ขั้นตอนเเรกเเล้วในบทนี้จะกล่าวถึงการประมวลผลในการจัดการข้อมูล าส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการเรียงลำดับข้อมูลการค้นหาข้อมูเเละการคำนวณ

 การเรียงลำดับเเบบเเทรกไพ่ลำดับ Insertion Sort

    เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีหลักการเหมือนการเเทรกไพ่ กล่าวตคือ จะเปรียบเทียบข้อมูลคู้เเรกก่อน ให้ข้อมูลที่น้อยกว่า ต่อมาก็จะนำข้อมูลตัวถัดไปมาเเทรกข้อมูลที่เปรียบเทียบเเล้วโดยเเทรกตามลำดับจากน้อยไปมาก เรียงจากขวาไปซ้าย หรือจากบนลงล่างจนหมดข้อมูลจะได้ข้อมูลเรียงลำดับทรูปที่7.1 Insertion Sort

  การเรียงลำดบแแบบฟองสบู่

    การเรียงลำดับเเบบฟองสบู่ Bubble Sort เป็นวิธีการเรียงข้อมูล โดยจะเปรียบเทียบข้อมูลที่ละคู่ที่อยู่ติดกัน โดยให้ข้อมูลที่ยน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทีละคู่ไปเรื่อยๆ ทำให้ข้อมูลที่น้อยกว่าลอยขึ้นข้างบน ส่วนข้อมูลที่มากมกว่าจะจมลงไป ดังนั้นชข้อมูลที่มีค่ามากที่สุดจะอยู้ข้างล่างสุด

    ถ้าเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากดังรูปที่ 7.2 เริ่มต้นรอบที่ 1 (i = 1) นำข้อมูลตัวที่ เเละ มาเปรียบเทียบ (ในรูปคือ 42 เเละ 23

    ถ้าข้อมูลตัวที่ มากกว่าตัวที่ ให้สลับที่กัน โดยตัวที่มีค่าน้อยกว่าลอยขึ้นเเล้วจึงเปรียบเทียบกับตัวที่ ต่อไป

    ถ้าข้อมูลตัวที่ 2มากกว่าตัวที่ 3  ให้สลับที่กัน โดยตัวที่มีค่าน้อยกว่าลอยขึ้น เเล้วจึงเปรียบเทียบข้อมูลตัวที่ กับตัวที่ เป็นเช่นไปเรื่อยๆ จนถึงตัวสุดท้าย จะได้ข้อมูลตัวมากที่สุดอยู่ล่างสุด ถือเป็นจบในรอบที่ ต่อไปเที่ยวที่ 2 (i = 2) ให้เปรียบเทียบขอมูลทำนองเดียวกับรอบที่ 

    เมื่อจบรอบที่ ให้ทำเเบบนี้ไปเรื่อย จนกว่าจะไม่มีข้อมูลในคู่ใดที่จะต้องสลับที่กันอีก ถือว่าได้ข้อมูลที่เรียงเสร็จเรีบยร้อย

 การเรียงลำดับเเบบเลือก

    การเรียงลำดับเเบบเลือก (Selection Sort)เป็นวิธีเรียงข้อมูลอีกวิธีหนึ่ง โดยจะเริ่มค้นหาข้อมูลที่น้อยที่สุดเเล้วนำมาเรียงเป็นลำดับเเรก จากนั้นจะกลับไป้นหาข้อมูลมฃที่น้อยที่สุดของข้อมูลที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง เมือ่พบเเล้วจะนำมาเรียงต่อเป็นลำดับถัดไป ทำเช่นนี้จนหมดข้อมูล ดังตัวอย่างที่ 7.3

                            รูปที่ 7.3 เเสดงการเรียงลำดับเเบบ Selection Sort

    ข้อมูลที่รวบรวมเเละป้อนเข้าไปในเเฟ้มข้อมูลอาจไม่อยู่ในลำดับที่เอื้อต่อการใช้งานตามต้องการ การเรียงลำดับช่วยในการควบคุมข้อมูลเเละช่วยให้เกิดความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การเรียงลำดับขข้อมูลจะเรียงตามเขตข้อมูลใดเขตข้อมูลหนึ่งซึ่งถือเป็นเขตข้อมลูหลักเขตข้อมูลหลักที่ใช้ในการเรียงอาจเป็นเขตข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้เช่นการจัดเรีบงระเบียนข้อมูลตามเขตข้อมูลคะเเนนสอบซึ่งเป็นเขตข้อมูลตัวเลข การจัดเรีบงระเบียนข้อมูลตามเขตข้อมูลชื่อซึ่งเป็นเขตข้อมูลชนิดตัวอักษรหรือข้อความ การเรียงลำดับเป็นกิจกรรมในช่วงต้นของการประมวลผลก่อนที่จะทำกิจกรรมอื่นต่อไป

    การเรียงลำดับข้อมูลสามารถจัดเรียงได้เป็น ประเภท ได้เเก่

1. การเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก (ascending sort) ในกรณีที่เขตข้อมูลหลักเป็นเขตข้อมูลข้อความจะเรียงจาก ไป หรือจาก ก ถึง ฮ เเต่ในกรณีเขตข้อมู,หลักเป็นเขตขอมูลตัวเลข การียงจะเรียงจากเลข ไปถึง 9

2. การเรียงลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย (descending sort) จะเป็นไปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ในกรณีที่ข้อมูลหลักเป็นเขตข้อมูลข้อความจะเรียงจาก ไป หรือจาก ฮ ถึง ก เเต่ในกรณีเขตข้อมูลหลักเป็นเขตข้อมูลตัวเลข การเรียงจะเรียงจากเลข ไปถึง 0     

 2.4การทำซ้ำ

การแก้ปัญหาอาจต้องมีการทำงานลักษณะเดียวกันซ้ำหลายรอบ ในหัวข้อนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้รูปแบบการทำซ้ำในรายการและการทำซ้ำด้วยเงื่อนไข

การทำซ้ำในรายการ
การทำซ้ำในรายการจะต้องพิจารณาข้อมูลในรายการจนครบทุกตัว ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียนขั้นตอนวิธีเพื่อพิจารณาข้อมูลจนครบทุกตัว

ตัวอย่างสถานการณ์
สถานการณ์
ถ้านักเรียนมีเงิน บาท และมีรายการราคาสินค้า ให้นักเรียนเขียนขั้นตอนวิธีนับจำนวนสินค้าที่มาราคาไม่เกิน บาท

การเขียนขั้นตอนวิธี
ขั้นตอนวิธี : หาจำนวนสินค้าที่มีราคาไม่เกิน บาท
ข้อมูลเข้า : ราคาสินค้าในรายการ A
ข้อมูลออก : จำนวนสินค้าที่มีราคาไม่เกิน บาท

1) ให้ตัวแปร count <– 0
2) พิจารณาข้อมูลราคาสินค้าในรายการ ทีละจำนวนจนครบ
2.1) ให้ แทนข้อมูลราคาสินค้าที่พิจารณาอยู่
2.2) ถ้า น้อยกว่าหรือเท่ากับ แล้ว
ให้ count <– count+1
3) คือค่าจำนวนสินค้าเท่ากับ count

การทำซ้ำด้วยเงื่อนไข
การทำซ้ำด้วยเงื่อนไข เป็นการทำซ้ำในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ตามที่มีการกำหนดไว้
  
ตัวอย่างสถานการณ์
สถานการณ์
ถ้าต้องการประมาณค่าของรากที่สองของ 10 ที่เป็นเลขทศนิยม ตำแหน่ง นักเรียนจะมีการเขียนขั้นตอนวิธีอย่างไร

การเขียนขั้นตอนวิธี
ขั้นตอนวิธี : ประมาณค่าของรากที่สองของ 10 ที่เป็นเลขทศนิยม ตำแหน่ง
ข้อมูลเข้า : –
ข้อมูลออก :ค่าประมาณค่าของรากที่สองของ 10 ที่เป็นเลขทศนิยม ตำแหน่ง

1) ให้ X <– 0
2) ให้ Y <– 0 (เก็บค่าประมาณที่ดีที่สุด)
3) ทำซ้ำเมื่อ X <= 10
3.1) ถ้า |X2 – 10| < |Y2 – 10| แล้ว Y <– X
3.2) X <– X + 0.001
4) คืนค่า และจบการทำงาน
โครงสร้างการทำงานแบบวนซ้ำ - ::kru-noomniim

 

2.3ออกแบบขั้นตอนวิธี


        ขั้นตอนวิธี (algorithm) คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับ โดยประกอบด้วยชุดคำสั่งการทำงานอย่างเป็นลำดับและชัดเจน 
        การออกแบบขั้นตอนวิธี (algorithm development) เป็นการออกแบบขั้นตอนในการแก้ปัญหา ซึ่งในปัญหาเดียวกันอาจมีการออกแบบคำสั่งที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้แก้ไข แต่หากได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแล้ว ก็ถือว่าขั้นตอนวิธีสามารถแก้ไขปัญหาได้ การออกแบบขั้นตอนวิธี มีเครื่องมือในการนำเสนอขั้นตอนวิธี ดังนี้
        1) การบรรยาย เป็นการเขียนบรรยายวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับ แต่อาจยากต่อการนำไปใช้ เช่น วิธีการต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป


2) การเขียนผังงาน (Flowchart) เป็นการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยการนำขั้นตอนการประมวลผลมาเขียนเป็นรูปแบบของแผนภาพ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน  ดังนั้น ผังงานโปรแกรมจึงเป็นผังงานที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานในโปรแกรม

ตารางแสดงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน

 สัญลักษณ์ความหมาย ตัวอย่างการใช้ 
 

 

เริ่มต้นและจบ
 
จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของผังงาน
 


 การนำข้อมูลเข้า-ออก
แบบทั่วไป

จุดที่จะนำข้อมูลเข้าจากภายนอกหรือออกสู่ภายนอกโดยไม่ระบุชนิดของอุปกรณ์ 
 
 

การปฏิบัติงาน
 
จุดที่มีการปฏิบัติงาน
อย่างใดอย่างหนึ่ง
 



การตัดสินใจ 
 
จุดที่ต้องเลือกปฏิบัติงาน
อย่างใดอย่างหนึ่ง

 
 

ทิศทาง

ทิศทางขั้นตอน
การดำเนินงานซึ่งจะปฏิบัติต่อเนื่องกันตาม
หัวลูกศรชี้ 

ตัวอย่าง การถ่ายทอดความคิดโดยใช้ผังงาน

2.2 การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา 

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั่น ก่อนที่ระบุขั้นตอนวิธีที่ชัดเจนได้ จะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถใช้ในการประมวลผลได้ มัเงื่อนไขต่างๆ อย่างไร ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร โดยจะแบ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกเป็นสองส่วนคือ

  1. ข้อมูลเข้า ( input ) เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประมวลผล
  2. ข้อมูลออก ( output ) เป็นข้อมูลผลลัพธ์ที่ต้องการ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่งสอนส่วนนี้ นอกจากจะระว่าคืออะไรแล้ว ยังอาจระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ เช่น ข้อมูลอาจการระบุขอบเขตหรือเงื่อนไข หรือข้อมูลออกอาจมีการระบุคุณสมบัติที่ต้องการ การวิเคราะห์นี้เป็นการระบุข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งจำเป็นต่อการออกแบบขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง 2.1 ปัญหาการหา ห.ร.ม 
พิจารณาตัวอย่างปัญหาการหา ห.ร.ม จากหัวข้อที่ 1.2 ในบทที่ 1 นักเรียนสามารถระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก รวมทั่งเงื่อนไขได้ดังนี้

  •  ข้อมูลเข้า : จำนวนเต็มบวกหนึ่งจำนวน a และ b
  • ข้อมูลออก : จำนวนเต็มบวกหนึ่งจำนวน c ที่มีคุณสมบัติดังนี้

ตัวอย่างที่ 2.2 คะแนนสอบ 
พิจารณาสถานการณ์สมมติต่อไปนี้ 
ครูได้ตรวจข้อสอบของนักเรียน40คน และได้ประกาศคะแนนไว้หนน้าห้อง หากต้องการหาคะแนนสูงสุด และต่ำสุด และคำนวณคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคน ในกรณีนี้ระบุข้อมูลออกได้ดังนี้

  • ข้อมูลเข้า : รายการคะแนนสอบของนักเรียน 40 คน
  • ข้อมูลออก : คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุด คะแนนเฉลี่ย

แม้ว่าในหลานๆ กรณี การระบุข้อมูลเข้าและข้อมูลออกนั่นอาจตะไม่สามารถทำได้อย่างชัดเจน แต่ความพยายามในการระบุข้อมูลทั่งสองมักเป็นเงื่อนไขให้ต้องทำความเข้าใจกับปัญหามากขึ้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ 

ตัวอย่าง ที่ 2.3 แบ่งกลุ่มการทำงาน 
นักเรียนในห้องต้องการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย จากการประชุมมีงานที่ต้องทำดังนี้

  1. จัดบอร์ดหน้าห้องเกี่ยวกับภาษาไทย
  2. จัดเตรียมงานโต้วาที
  3. เป็นกลุ่มผู้โต้วาที โดนมาสองกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
  4. อ่านกลอนทำน้องเสนาะ
  5. ร้องเพลงไทยสมัยใหม่

เพื่อให้ทุกคนได้ทำงานที่ต้องการทำหรืออย่างน้องเป็นงานที่ยินดีทำ จึงได้ให้นักเรียนทุกคนกรอกข้อมูลว่าสมมารถทำงานใดได้บ้าง และมีงานใดบ้างที่ต้องการทำเป็นพิเศษ โดยมีเงื่อนไขว่า ให้นักเรียนหนึ่งคนไม่ควรทำงานเกิน 2 อย่าง และผู้โต้วาทีไม่ควนเป็นคนจัดเตรียมงานโต้วาที จากจ้อมูลดังกล่าว ต้องการจัดกลุ่มว่านักเรียนคนใดจะทำงานใดบ้าง สามารถระบุข้อมูลเข้าและข้อมูลออกได้ดังนี้

  • ข้อมูลเข้า : รายการของงาทั่งหมด ข้อมูลนักเรียนแต่ละคนที่ระบุว่าสามารถทำงานใดได้บ้างและต้องการทำงานใดเป็นพิเศษบ้าง
  • ข้อมูลออก : ข้อมูลที่ระบุว่านักเรียนคนใดทำงานอะไร โดยมีเงื่อนไขดังนี้

จากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้น นักเรียนอาจจะพบปัญหาเมื่อเริ่มดำเนินการ เช่น ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่ระบุงานที่สามารถทำได้ ก็จะทำให้ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ สักเกตว่าการระบุข้องมูลที่ชัดเจนทำให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะช่วยปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ได้ดีกว่าเดิมในกรณีนี้เพื่อให้สามารถจัดกลุ่มได้ อาจะเพิ่มเงื่อนไขให้นักเรียนทุกคนต้องเลือกงานที่สามาทำได้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง 
ตัวอย่างที่ 2.4 อุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ 
ตัวอย่างนี้จะพิจารณาการสร้างอุปการณ์เพื่อตรวจสอบความชื่นของดิน ถ้าดินแห้งจะสั่งให้รถน้ำต้นไม้โดยอัตโนมัติ ระบบดังกล่าวแสดงดังรูป 2.3

ระบบการรดน้ำต้นไม้อัตโนมัตินี้มีการรับและส่งงานระหว่างคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ตัวตรวจจับ ( sensor ) เพื่อใช่อ่านข้อมูลจากสภาพแวดล้อมหรือจากสิ่งที่สนใจโดยข้อมูลเข้า คือ ระดับความชื่นของดินที่อ่านจากตัวตรวจจับ  และเครื่องคอมพิวเตอร์จะประมวลผลเพื่อสั่งงานไปยังอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดน้ำ ดังนั่นข้อมูลออกในกรณีนี้คือสัญญาณควบคุมอุปกรณ์เปิดปิดน้ำโดนสรุป สามารถระบุจ้อมูลเข้าและข้อมูลออกได้ดังนี้

  • ข้อมูลเข้า :  ระดับความชื้นของดิน (ผ่านทางตัวตรวจจับ)
  • ข้อมูลออก : สัญญาณควยคุมการเปิดปิดน้ำ

กิจกรรมที่ 2.3 ข้อมูลเข้าและข้อมูลออก

ให้ระบุข้อมูลเข้า และข้อมูลออก ของรถยนต์อัตโนมัติ และระบบแปลภาษา

2.3 การออกแบบขั้นตอนวิธี 
ทักษะการคิดเชิงคำนวณ เช่น การแยกส่วนประกอบและการย้อยปัญหา การหารูปแบบ และการคิดเชิงนามธรรม สามารถรำมาใช้ในการออกแบบขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ การออกแบบนี้ไม่มีขั้นตอนที่ตายตัว จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝนจำเป็นสิ่งที่ท้าทายซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักเรียนในอนาคต

2.3.1 ตัวอย่างการออกแบบขั้นตอนวิธี 
ตัวอย่างที่ 2.5 การตัดสินใจรดน้ำต้นไม้ของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ การตัดสินใจรดน้ำต้นไม้ในขั้นตอนวิธีของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ระบบจะต้องอ่านข้อมูลความชื้นของดินแล้วเปรียบเที่ยวกับค่าที่กำหนดไว้ ( สมมติค่าความชื้นกำหนดเป็น 0.1 หน่วย) หากค่าความชื้นต่ำกว่าค่าที่กำหนด ให้ระบบส่งสัญญาณเปิดน้ำ และหากมีค่าความชื้นเกินกว่าหรือเท่ากับค่าที่กำหนดไว้ให้ระบบส่งสัญญาณปิดน้ำ

ในส่วนการทำงานหลักของขั้นตอนวิธี คือ การตัดสิ้นใจรดน้ำต้นไม้ มีการทำงานตามลำดับดังนี้

1. อ่านค่าความชื้นของดิน 
2. ให้ H แทนค่าความชื้น 
3. ถ้า H < 0.1 แล้ว 
3.1 ส่งสัญญาณเปิดน้ำ ถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริง 
3.2 ส่งสัญญาณปิดน้ำ

ส่วนของขั้นตอนวิธีดังกล่าวเป็นการตัดสินใจเพียงครั้งเดียว ดังนั่นเพื่อความสมบูรณ์ขั้นตอนวิธีที่จะทำให้ระบบรดน้ำต้นไม้มีการอ่านค่าและส่งสัญญาณควบคุมจะต้องทำสม่ำเสมอ จึงต้องให้ขั้นตอนวิธีด้านบนทำซ้ำๆ ต่อเนื่องกับไป ดังนี้

  • ขั้นตอนวิธี : ควบคุมการเปิดปิดน้ำของเครื่องรดน้ำต้นไม้

 2.1 การแก้ไขปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

บทที่4 การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ | krubongkot.wordpress.com

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกประการ ดังนั้นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับการแก้ปัญหา จึงต้องมีโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหานั้น เพื่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมจึงต้องทราบถึงวิธีการของการแก้ปัญหาที่ต้องการแก้ไขทุกขั้นตอน จากนั้นจึงทำการเรียบเรียงลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วนำขั้นตอนวิธีที่ได้เรียบเรียงขึ้นมาเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้มีการเตรียมการไว้ก่อน โดยทำการเขียนโปรแกรมตามความคิดในขณะนั้น ไม่ได้มีการวางแผนหรือการจดบันทึกขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับเป็นเอกสารอ้างอิง เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เสียเวลาในการเขียนโปรแกรมเพิ่มมากขึ้น
หากต้องการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของโปรแกรมในภายหลัง จะมีความยุ่งยาก ต้องใช้เวลาสำหรับการทำความเข้าใจกับขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรม ถ้าโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนมากนัก เวลาที่ใช้สำหรับการศึกษาถึงวิธีขั้นตอนวิธีการในการแก้ปัญหาจะใช้เวลาไม่มาก แต่ถ้าโปรแกรมนั้นมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาถึงขั้นตอนวิธีการในการทำงาน จะยิ่งใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น การเขียนเอกสารประกอบการทำงานของโปรแกรม ทำให้การปรับปรุงพัฒนาการทำงานของโปรแกรมในภายหลัง สามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

    
กระบวนการในการแก้ปัญหา  ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้

 

 1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา

          การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามความสำคัญของขั้นตอนนี้อยู่เสมอ จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล ในการวิเคราะห์ปัญหาใด กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ ดังนี้

1.1  การระบุข้อมูลเข้า  ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา

1.2  การระบุข้อมูลออก  ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ

1.3  การกำหนดวิธีประมวลผล  ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีหาคำตอบหรือข้อมูลออก


  2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี

              การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools and Algorithm development) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ แล้ว เราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก หากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้วก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา

              ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว และสิ่งที่สำคัญคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา

              อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา คือยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือที่เราเรียกว่า 

ขั้นตอนวิธี (algorithm) ในการแก้ปัญหา  หลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้ว ผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและดีที่สุด การออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใน เช่น ผังงาน (flowchart) ที่จำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของสัญลักษณ์  รหัสลำลอง (pseudo code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของคำบรรยาย การใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าวนอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาดของวิธีการที่ใช้ได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

 

  3. การดำเนินการแก้ปัญหา

              การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยง่าน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะที่ดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

 

  4. การตรวจสอบและปรับปรุง

              การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมุเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

              ขั้นตอนทั้ง ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เป็นเสมือนขั้นบันได (stair) ที่ทำให้มนุษย์สามารถประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ รวมทั้งการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาก็ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนทั้ง นี้เช่นกัน                         

สรุป 13 ข้อ สาระสำคัญจำง่ายๆ พ.ร.บ.คอมพ์ 60 มีผลบังคับใช้แล้ว

ถ้ายังจำกันได้ถึงการผลักด้น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้

เตือนความจำกันสักหน่อย เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้


1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3

6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด

8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้

9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ

10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย

  3.5 การสรุปผลและเผยแพร่             เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้อื่นไ ด้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานของผู้จัดทำซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การแสด...