วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

 3.5การสรุปผลและเผยแพร่

            เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานของผู้จัดทำซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการจัดนิทรรศการโดยใช้โปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงหรือโปร่งแสงร่วมกับเอกสารหรือแผ่นใส การใช้คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ไมโครซอฟต์เพาเว่อพอยต์ นำเสนอร่วมกับโพรเจกเตอร์และจอรับภาพ การสร้างเว็บเพจโดยผลงานที่นำเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบไปด้วยรายละเอียดและวิธีการ ดังนี้

3.4 การดำเนินงาน

        1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

        2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้

         3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ ดังนี้
    3.1  ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิงและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ
    3.2  วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงการที่จะพัฒนา
    3.3  ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษา โปรแกรม และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้
    3.4  กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ
    3.5  ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
    3.6  เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด

4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เช่น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย
           5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้ การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา และส่วนสุดท้ายเป็นคู่มือการใช้งานโครงงาน 
            6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน โดยทั่วไปเมื่อโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการนำเสนอโครงงานให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานหรือครูที่ปรึกษาโครงงาน ดังนั้นควรเตรียมเอกสารนำเสนอให้สมบูรณ์ โดยอาจปรับย่อข้อความที่สำคัญมาจากการรายงานก็ได้ การนำเสนอในรูปแบบใดนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ป้ายนิทรรศการ เอกสารรายงาน แผ่นพับ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในการนำเสนอและสาธิตโครงงาน และควรฝึกตอบคำถามที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย

 3.3 การวางแผนและออกแบบโครงงาน

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

          โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงงานนั้นๆ การคัดเลือกโครงงานที่สนใจจะทำ ควรเป็นไปตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตัวผู้เรียนเอง การสำรวจและการเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน เป็นขั้นตอนแรกของการทำโครงงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ดังนี้
1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน (การตั้งชื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ที่สนใจจะทำ)
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
4. การลงมือพัฒนาโครงงาน
5. การจัดทำรายงาน
6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน


 3.2 การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา

การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้

การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้น ตามปกติจะกำหนดในเรื่องของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

การเขียนขอบเขตของการวิจัย ผู้วิจัยอาจจะเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ แยกหัวข้อกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรก็ได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก (วัดผลจุดคอม. 2553 : , คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

ตัวอย่าง การเขียนขอบเขตของการวิจัย แบบเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ เช่น

ตัวอย่างที่ 1 งานวิจัยเรื่อง “ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร”  กำหนดขอบเขตการวิจัยดังนี้

การวิจัยในครั้งนี้กลุ่มของประชากร คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 5,645,834 คน โดยจะทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 625 ตัวอย่าง ซึ่งลักษณะของกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคเพศชายหรือหญิง อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป โดยต้องเป็นผู้ที่กำลังซื้อสินค้าหรืออยู่ในบริเวณของร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ต ระยะเวลาทำการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มิถุนายน 2543 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 151 วัน

 

 3.1 การกำหนดปัญหา

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหา ข้อเท็จจริงที่แท้จริง ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน

ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ    โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานในระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ  ดังนั้น   นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนา   แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ดีที่สุดอาจไม่ถูกเลือกเพื่อมาใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง   ดังนั้น  แนวทางที่ดีที่สุดในที่นี้คงไม่ใช่ระบบที่ต้องใช้งบประมาณแพงลิบลิ่ว แต่เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขในสถานการณ์นั้นๆ เป็นหลักสำคัญ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณค่าใช้จ่าย  และเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้ หากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้

กระบวนการแก้ปัญหา - การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา

1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหา รวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม

3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ

4. จัดเตรียมทีมงาน และกำหนดเวลาในการทำโครงการ

5. ลงมือดำเนินการ

 2.5 การจัดเรียงและการค้นหาข้อมูล

Data structure: การจัดเรียงข้อมูล Sorting

การจัดข้อมูลที่ได้กล่าวมาเเล้วว่า  คืองานที่กระทำกับข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีกิจกรรมคือการเก็บรวงรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การทำรายงานการนำไปใชตลอดการจัดเก็บ  ใบบทที่กล่าวมาถึง ขั้นตอนเเรกเเล้วในบทนี้จะกล่าวถึงการประมวลผลในการจัดการข้อมูล าส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการเรียงลำดับข้อมูลการค้นหาข้อมูเเละการคำนวณ

 การเรียงลำดับเเบบเเทรกไพ่ลำดับ Insertion Sort

    เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีหลักการเหมือนการเเทรกไพ่ กล่าวตคือ จะเปรียบเทียบข้อมูลคู้เเรกก่อน ให้ข้อมูลที่น้อยกว่า ต่อมาก็จะนำข้อมูลตัวถัดไปมาเเทรกข้อมูลที่เปรียบเทียบเเล้วโดยเเทรกตามลำดับจากน้อยไปมาก เรียงจากขวาไปซ้าย หรือจากบนลงล่างจนหมดข้อมูลจะได้ข้อมูลเรียงลำดับทรูปที่7.1 Insertion Sort

  การเรียงลำดบแแบบฟองสบู่

    การเรียงลำดับเเบบฟองสบู่ Bubble Sort เป็นวิธีการเรียงข้อมูล โดยจะเปรียบเทียบข้อมูลที่ละคู่ที่อยู่ติดกัน โดยให้ข้อมูลที่ยน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทีละคู่ไปเรื่อยๆ ทำให้ข้อมูลที่น้อยกว่าลอยขึ้นข้างบน ส่วนข้อมูลที่มากมกว่าจะจมลงไป ดังนั้นชข้อมูลที่มีค่ามากที่สุดจะอยู้ข้างล่างสุด

    ถ้าเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากดังรูปที่ 7.2 เริ่มต้นรอบที่ 1 (i = 1) นำข้อมูลตัวที่ เเละ มาเปรียบเทียบ (ในรูปคือ 42 เเละ 23

    ถ้าข้อมูลตัวที่ มากกว่าตัวที่ ให้สลับที่กัน โดยตัวที่มีค่าน้อยกว่าลอยขึ้นเเล้วจึงเปรียบเทียบกับตัวที่ ต่อไป

    ถ้าข้อมูลตัวที่ 2มากกว่าตัวที่ 3  ให้สลับที่กัน โดยตัวที่มีค่าน้อยกว่าลอยขึ้น เเล้วจึงเปรียบเทียบข้อมูลตัวที่ กับตัวที่ เป็นเช่นไปเรื่อยๆ จนถึงตัวสุดท้าย จะได้ข้อมูลตัวมากที่สุดอยู่ล่างสุด ถือเป็นจบในรอบที่ ต่อไปเที่ยวที่ 2 (i = 2) ให้เปรียบเทียบขอมูลทำนองเดียวกับรอบที่ 

    เมื่อจบรอบที่ ให้ทำเเบบนี้ไปเรื่อย จนกว่าจะไม่มีข้อมูลในคู่ใดที่จะต้องสลับที่กันอีก ถือว่าได้ข้อมูลที่เรียงเสร็จเรีบยร้อย

 การเรียงลำดับเเบบเลือก

    การเรียงลำดับเเบบเลือก (Selection Sort)เป็นวิธีเรียงข้อมูลอีกวิธีหนึ่ง โดยจะเริ่มค้นหาข้อมูลที่น้อยที่สุดเเล้วนำมาเรียงเป็นลำดับเเรก จากนั้นจะกลับไป้นหาข้อมูลมฃที่น้อยที่สุดของข้อมูลที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง เมือ่พบเเล้วจะนำมาเรียงต่อเป็นลำดับถัดไป ทำเช่นนี้จนหมดข้อมูล ดังตัวอย่างที่ 7.3

                            รูปที่ 7.3 เเสดงการเรียงลำดับเเบบ Selection Sort

    ข้อมูลที่รวบรวมเเละป้อนเข้าไปในเเฟ้มข้อมูลอาจไม่อยู่ในลำดับที่เอื้อต่อการใช้งานตามต้องการ การเรียงลำดับช่วยในการควบคุมข้อมูลเเละช่วยให้เกิดความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การเรียงลำดับขข้อมูลจะเรียงตามเขตข้อมูลใดเขตข้อมูลหนึ่งซึ่งถือเป็นเขตข้อมลูหลักเขตข้อมูลหลักที่ใช้ในการเรียงอาจเป็นเขตข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้เช่นการจัดเรีบงระเบียนข้อมูลตามเขตข้อมูลคะเเนนสอบซึ่งเป็นเขตข้อมูลตัวเลข การจัดเรีบงระเบียนข้อมูลตามเขตข้อมูลชื่อซึ่งเป็นเขตข้อมูลชนิดตัวอักษรหรือข้อความ การเรียงลำดับเป็นกิจกรรมในช่วงต้นของการประมวลผลก่อนที่จะทำกิจกรรมอื่นต่อไป

    การเรียงลำดับข้อมูลสามารถจัดเรียงได้เป็น ประเภท ได้เเก่

1. การเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก (ascending sort) ในกรณีที่เขตข้อมูลหลักเป็นเขตข้อมูลข้อความจะเรียงจาก ไป หรือจาก ก ถึง ฮ เเต่ในกรณีเขตข้อมู,หลักเป็นเขตขอมูลตัวเลข การียงจะเรียงจากเลข ไปถึง 9

2. การเรียงลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย (descending sort) จะเป็นไปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ในกรณีที่ข้อมูลหลักเป็นเขตข้อมูลข้อความจะเรียงจาก ไป หรือจาก ฮ ถึง ก เเต่ในกรณีเขตข้อมูลหลักเป็นเขตข้อมูลตัวเลข การเรียงจะเรียงจากเลข ไปถึง 0     

 2.4การทำซ้ำ

การแก้ปัญหาอาจต้องมีการทำงานลักษณะเดียวกันซ้ำหลายรอบ ในหัวข้อนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้รูปแบบการทำซ้ำในรายการและการทำซ้ำด้วยเงื่อนไข

การทำซ้ำในรายการ
การทำซ้ำในรายการจะต้องพิจารณาข้อมูลในรายการจนครบทุกตัว ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียนขั้นตอนวิธีเพื่อพิจารณาข้อมูลจนครบทุกตัว

ตัวอย่างสถานการณ์
สถานการณ์
ถ้านักเรียนมีเงิน บาท และมีรายการราคาสินค้า ให้นักเรียนเขียนขั้นตอนวิธีนับจำนวนสินค้าที่มาราคาไม่เกิน บาท

การเขียนขั้นตอนวิธี
ขั้นตอนวิธี : หาจำนวนสินค้าที่มีราคาไม่เกิน บาท
ข้อมูลเข้า : ราคาสินค้าในรายการ A
ข้อมูลออก : จำนวนสินค้าที่มีราคาไม่เกิน บาท

1) ให้ตัวแปร count <– 0
2) พิจารณาข้อมูลราคาสินค้าในรายการ ทีละจำนวนจนครบ
2.1) ให้ แทนข้อมูลราคาสินค้าที่พิจารณาอยู่
2.2) ถ้า น้อยกว่าหรือเท่ากับ แล้ว
ให้ count <– count+1
3) คือค่าจำนวนสินค้าเท่ากับ count

การทำซ้ำด้วยเงื่อนไข
การทำซ้ำด้วยเงื่อนไข เป็นการทำซ้ำในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ตามที่มีการกำหนดไว้
  
ตัวอย่างสถานการณ์
สถานการณ์
ถ้าต้องการประมาณค่าของรากที่สองของ 10 ที่เป็นเลขทศนิยม ตำแหน่ง นักเรียนจะมีการเขียนขั้นตอนวิธีอย่างไร

การเขียนขั้นตอนวิธี
ขั้นตอนวิธี : ประมาณค่าของรากที่สองของ 10 ที่เป็นเลขทศนิยม ตำแหน่ง
ข้อมูลเข้า : –
ข้อมูลออก :ค่าประมาณค่าของรากที่สองของ 10 ที่เป็นเลขทศนิยม ตำแหน่ง

1) ให้ X <– 0
2) ให้ Y <– 0 (เก็บค่าประมาณที่ดีที่สุด)
3) ทำซ้ำเมื่อ X <= 10
3.1) ถ้า |X2 – 10| < |Y2 – 10| แล้ว Y <– X
3.2) X <– X + 0.001
4) คืนค่า และจบการทำงาน
โครงสร้างการทำงานแบบวนซ้ำ - ::kru-noomniim

  3.5 การสรุปผลและเผยแพร่             เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้อื่นไ ด้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานของผู้จัดทำซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การแสด...